Sprint คือหัวใจของ Scrum

Chen Ning-An (陳宁安)
1 min readDec 8, 2018
Photo by Tim Gouw on Unsplash

Sprint หมายถึง กรอบระยะเวลาในการทำงาน

อาจจะมีระยะเวลา 1–4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับธุรกิจ หรือขนาดขององค์กรที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้ Scrum ยกตัวอย่างเช่น องค์กรที่ต้องมีการตรวจสอบมากมาย อาจต้องใช้รอบระยะเวลา 4 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงอาจต้องใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 1 สัปดาห์เพื่อให้สามารถส่งมอบ Product Increment ได้ทันกับความต้องการของลูกค้า

Sprint นั้นมีระยะเวลาตายตัวตลอดช่วงของการทำงาน หากตกลงกันแล้วก็ขอให้ยึดระยะเวลานั้นเสมอ มิเช่นนั้นอาจจะต้องมีตำแหน่ง Sprint Manager เพิ่มขึ้นมาเพื่อจัดการระยะเวลาของ Sprint ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และ Sprint ใหม่จะเกิดขึ้นทันที หลังจากจบ Sprint ก่อนหน้าแล้ว

Sprint ประกอบด้วย

Sprint Planning, Daily Scrum, การทำงาน, Sprint Review และ Sprint Retrospective

โดยในระหว่าง Sprint

  • จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจจะทำให้ผลต่อง Sprint Goal เกิดการเปลี่ยนไป
  • ไม่มีการปรับลดเป้าหมายเชิงคุณภาพ
  • ขอบเขตของงานสามารถต่อรองใหม่ได้ระหว่าง Product Owner กับ Team

ในแต่ละ Sprint จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะผลิตอะไร ซึ่งได้มีการออกแบบและมีการวางแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อใช้ในการพัฒนา Product Increment

ความต้องการของสิ่งที่ต้องการผลิตอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไป หากเราเลือกระยะเวลาของ Sprint ที่นานเกินไป ดังนั้นต้องวางแผนและคาดการณ์ล่วงหน้าด้วยการนำสิ่งที่เกิดขึ้นไปเทียบกับ Sprint Goal เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและไม่ควรเกิน 1 เดือน

จะเห็นได้ว่า Sprint คือกรอบเวลาที่จำกัด ดังนั้นการใช้เวลาทำกิจกรรมใน Sprint จะถูกจำกัดไว้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้เวลา

Sprint Planing แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงละ 5% ของ Sprint

Daily Scrum ใช้เวลาวันละ 15 นาที

Backlog Refinement ใช้เวลา 10% ของ Sprint

Sprint Review ใช้เวลา 4 ชั่วโมง สำหรับ Sprint 1 เดือน

Sprint Retrospective ถ้าเป็น Sprint 2 สัปดาห์ ใช้เวลา 1–1.30 ชั่วโมง

ถึงจะระบุเวลาดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้เวลาทั้งหมดในการทำกิจกรรม หากทำเพียงพอที่ทีมสามารถจะจัดการงานกันได้แล้ว ก็สามารถหยุดกิจกรรมดังกล่าวได้ก่อนหมดเวลา

และ

ทำงานกับ Self Management Team ดังนั้นการเอาเวลาในช่วงกิจกรรมมาตามงานเป็นชั่วโมงๆ นั้นเป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองเวลาในการทำงาน ปล่อยให้ทีมกลับไปทำงานเถอะครับ

อ้างอิงจาก เอกสาร Scrum Guide ปี 2017

--

--